วันพฤหัสบดี, ธันวาคม ๐๖, ๒๕๕๐

HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นโปรโตคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์แรกเริ่มในการเป็นช่องทาง สำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยน HTML
HTTP เป็นการพัฒนาร่วมกันโดย World Wide Web Consortium ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ และคณะทำงานจาก Internet Engineering Task Force โดยออกมาเป็นชุดเอกสาร RFC เอกสารชิ้นที่สำคัญคือ RFC 2616 ซึ่งเป็นมาตรฐาน HTTP 1.1 ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
HTTP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ร้องขอ/ตอบกลับ ระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์ กับเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่า
เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานบนโปรโตคอล TCP ตามพอร์ตที่กำหนด (ปกติใช้พอร์ต 80)

HTTP 1.1
HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
เป็นโปรโตคอลประยุกต์ของ World Wide Web ที่ทำงานระดับบนของชุดโปรโตคอล TCP/IP บนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีเวอร์ชันใหม่ คือ HTTP 1.1 ซึ่งสัญญาว่าจะนำเว็บเพจไปสู่ browser เร็วขึ้นเล็กน้อย และลด traffic ของเว็บ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการของ Internet Engineering Task Force (IETF) รวมถึงหัวหน้าคณะผู้สร้างเว็บ Tim Berners-Lee โดย HTTP 1.1 อยู่ในขั้นตอนการเสนอวัตถุประสงค์ แต่ข้อเท็จจริง web server และ browser client อยู่ในขั้นของการสนับสนุน ข้อสรุป การที่ HTTP 1.0 ทำให้การไหลของสารสนเทศเร็วขึ้น- แทนที่การเปิดและการปิดติดต่อสำหรับการขอแต่ละการประยุกต์ HTTP 1.1 ให้ใช้การติดต่อแบบผังติด (persistent connection) ที่ยินยอมให้หลายคำขอได้รับการส่งหรือ pipeline ไปที่ buffer ของผลลัพธ์ ในเลเยอร์ของ TCP (Transmission Control Protocol) สามารถหยิมหลายคำขอ หรือการตอบสนองไปยัง 1 segment ของ TCP แล้วส่งต่อไปยังเลเยอร์ IP (Internet Protocol) สำหรับการส่งแพ็คเกต ทำให้คำขอสำหรับชุดของการดึงไฟล์จะลดลง ใช้แพ็คเกตน้อยลงในไหลผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะคำขอ คือ pipeline ทำให้ segment ของ TCP มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์โดยรวมทำให้ลด traffic บนอินเตอร์เน็ตและสมรรถนะเร็วขึ้นสำหรับผู้ใช้การติดต่อแบบฝังติด คล้ายกับ Netscape HTTP 1.1 extension เรียกว่า keep active แต่ให้การดูแลคำขอที่ดีกว่า รวมถึงการผ่าน proxy server- เมื่อ browser สนับสนุน HTTP 1.1 แสดงถึงความสามารถขยายไฟล์ HTML จะทำให้เครื่องแม่ข่ายบีบอัดไฟล์สำหรับการส่งผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้ลดการส่งข้อมูล (ไฟล์รูปภาพได้อยู่ในฟอร์แมตบีบอัด ดังนั้น จึงเป็นการปรับปรุงเฉพาะ HTML และประเภทข้อมูลที่ไม่ใช่ภาพ)การเพิ่มการติดต่อแบบฝังติด และการเพิ่มสมรรถนะ HTTP 1.1 ยังได้เพิ่มความสามารถในการใช้หลายชื่อ domain name ร่วมกันใน Internet address (IP address) เดียวกัน เพื่อทำให้ขั้นตอนของ web server ซึ่งเป็นที่เก็บหลาย web site บางครั้งเรียกว่า virtual hosting

Post Office Protocol version 3 (POP3) หรือ พ็อป หรือ เกณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์
[1] เป็นโปรโตคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโปรโตคอล TCP/IP ในปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้บริการอ่านอีเมลแบบ POP3
POP3 เป็นการพัฒนาจากโปรโตคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3
POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโปรโตคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ
Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุน IMAP ด้วยน้อยกว่า POP3
Internet Message Access Protocol หรือตัวย่อ IMAP (เดิมชื่อ Interactive Mail Access Protocol) เป็น
โปรโตคอลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการรับอีเมลการทำงานของ IMAP จะแตกต่างกับ POP3 เนื่องจาก IMAP เป็นโปรโตคอลแบบ on-line ขณะที่ POP3 เป็นโปรโตคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็นสองโปรโตคอลรับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

IMAP ออกแบบโดย Mark Crispin ใน ค.ศ. 1981 เพื่อใช้แทนโปรโตคอล POP ซึ่งมีความสามารถน้อยกว่า ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ IMAP4
เอฟทีพี (File Transfer Protocol:FTP) คือ รูปแบบการส่งไฟล์ (send file) หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า Client กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า
โฮสติง หรือ เซิร์ฟเวอร์ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน
โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม Cute FTP หรือ WS FTP ในการติดต่อ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: