วันพุธ, มกราคม ๐๒, ๒๕๕๑

สรุปบทที่ 6 - บทที่ 8

บทที่ 6 Domain Name System (DNS)
ระบบ Domain Name System เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address มีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ และยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่นๆอีก
ข้อกำหนดของ DNS คือ ชื่อในลำดับชั้นที่สองที่ต่อจาก root ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะที่ระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจน
ข้อมูลใน DNS การทำงานของ DNS เป็นการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย DNS มีทางเลือกใจการใช้งาน ได้ 2 วิธี คืออาศัยเครื่อง DNS server ของผู้ให้บริการ (ISP) เพื่อแปลงชื่อเป็นหมายเลข IP Address ให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายของตน
ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี คือ องค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมเครื่องทำหน้าที่ DNS Server และไม่ต้องคอยดูแลจัดการข้อมูลให้ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเครื่องในเครือข่าย ก็จะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลระบบของบริษัท ISP ทราบเพื่อช่วยแก้ไขข้อมูลให้ ซึ่งจะไม่สามารถทำเองได้
DNS Zone มีการแบ่งจัดการดูแล domain ออกเป็นพื้นที่ย่อยเรียกว่า zone หรือ DNS zone นี้ทำได้โดยการแบ่งกลุ่มย่อยของ node ที่มีลำดับชั้นย่อยลงไปอีกขั้นเพื่อแยก DNS server ให้ดูแลรับผิดชอบแต่ละ zone ไปช่วยให้กรณีเมื่อ DNS server ที่ดูแล zone 1 อยู่เองได้รับคำสั่งขอข้อมูลที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ก็จะมีการส่งค่า IP Address ของ DNS server ที่ดูแล zone ที่ต้องการให้แทน
DHCP การทำงานของโปรโตคอล DHCP จัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ โดยเครื่องที่ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูลของแอดเดรสและพารามิเตอร์ ที่จำเป็นเพื่อแจกจ่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์หรืออุปกรณ์อื่นๆจะถูกเรียกว่า DHCP server เพื่อนำไปใช้งาน
บทที่ 7 อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
Workflow เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆเป็นไปแบบอัตโนมัติ
โปรโตคอลและประเภทการใช้งาน การทำงานทั่วๆไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ
1.การส่งอีเมล์
2.การรับอีเมล์
POP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 3 เรียกย่อๆว่า POP3 โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ ซึ่งกลไกของ POP3 จะทำงานในแบบ Offline โดยติดต่อเข้าไปยัง เมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวโหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบ Online กับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ใน User agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเครือข่ายก็ได้
SMTP เป็นโปรโตลคอลที่อยู่คู่กับ POP3 เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่นๆที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องของผู้รับ โปรโตคอล SMTP จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP
IMAP 4 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์ สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ผู้ใช้สามารถเลือกดาวโหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตลคอล POP3 และยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline Online และ Disconnected อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องใช้งานอยู่หลายเครื่องก็จะเกิดประโยชน์จากการทำงาน
บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP เป็นเครื่องมีในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยมีคุณสมบัติสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อการโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่
วิธีการทำงานของ FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ ข้อมูล และข้อมูลที่เป็นคำสั่ง
วิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้
- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ
- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก
- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
TFTP เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ
Connectionless และ Connection-Oriented
Connectionless เป็นการส่งข้อมูลโดยไม่สนใจว่าผู้รับปลายทางจะได้รับข้อมูลหรือไม่ เปรียบได้กับการส่งไปรษณีย์แบบธรรมดา
Connection-Oriented เป็นการสื่อสารที่มีกลไกที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับได้รับข้อมูลต่างๆหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับก็จะต้องส่งไปใหม่ ก็จะคล้ายกับการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
GetRight เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ โดยทำหน้าที่แทนไดอะล๊อกบ๊อกซ์การดาวน์โหลดของบราวเซอร์ซึ่งจะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้บราวเซอร์
WebNFS สามารถจำลองดิสก์ของระบบ Unix ของระบบ Unix ให้เครือข่ายเข้ามาเรียกใช้ข้อมูล หรือส่งงานมาพิมพ์ และในทางกลับกันก็ขอใช้ไฟล์หรือส่งงานไปพิมพ์ที่เซิร์ฟเวอร์อื่นในเครือข่ายได้ด้วย โดยขยายให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้






วันอังคาร, ธันวาคม ๒๕, ๒๕๕๐

สรุปบทที่ 2 และบทที่ 3

สรุปบทที่ 2
โปรโตคอลและIP Address

โปรโตคอล คือระเบียบวิธีที่กำหนอดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

โปรโตคอลมีหลายประเภท เช่น IPX/SPX , NetBEUI , Apple Talk , TCP/IP เป็นต้น
IP Address จะถูกกำหนดให้แต่ละเครื่องหรือแต่ละอุปกรณ์ ซึ่งจะมีไม่ซ้ำกัน และไม่ผูกติดกับฮาร์ดแวร์อย่างใด และจะแตกต่างกับ MAX Address โดยค่า MEX Address จะเป็นค่าหมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย โดยจะถูกกำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตั้งแต่เริ่มผลิต ไม่สามารถแก้ไขได้
Loop back address เป็นแอดเพรสที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้งานที่ต้องการให้ process หนึ่ง ติดต่อกับ process อื่นๆ ในเครื่องเดียวกันผ่าน IP Address โดยมีการกำหนด IP Address พิเศษให้เป็น Loop back address เป็นสาม class มี class A , B , C โดยมีการแบ่งค่าตามหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องลูกข่าย ในแต่ละลำดับชั้นของเครือข่ายในคลาส
Subnet เป็นการแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ และทำให้การกำหนดใช้งาน IP Address ที่ได้รับสามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆ เหมาะสมกับอุปกรณ์ในแต่ละเครือข่าย และแบ่ง IP Address ส่วนที่ไม่ได้ใช้ให้หน่วยงานอื่นหรือเครือข่ายอื่น
Multicast Address เกิดจากที่ว่าเครือข่ายใน Class D ทำหน้าที่เป็น Multicast Address โดยแบ่งกลุ่มย่อยๆ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะรับข้อมูลที่ถูกส่งออกมาให้ในระหว่างเครือข่าย
Data Pecket เป็นการทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลงโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เมื่อมีการรับส่งข้อมูลกันในระหว่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
สรุปบทที่ 3

โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP
โปรโตคอล TCP เป็นโปรโตคอลที่มีการรับส่งข้อมูล หมายความว่า การรับส่งข้อมูลจะไม่คำนึงถึงปริมาณข้อมูลที่ส่งไป แต่จะแบ่งข้อมูลเป็นส่วนที่ย่อยก่อน แล้วจึงจะส่งไปยังปลายทางอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งถูกหายไป
โปรโตคอล UDP การรับส่งข้อมูลของ UDP จะเป็นแบบที่ทั้งสองด้านไม่จำเป็นต้อฃอาศัยการสร้างซ่องทางเชื่อมต่อกัน ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการกับเครื่องที่ขอใช้บริการ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผ่ายรับส่งข้อมูลนั้นๆด้วย
Host-to-Host layer จะมีการสร้าง Connection หรือการเชื่อมต่อกันระหว่างแอพพลิเคชั่นกับ Host-to-Host layer แอพพลิเคชั่นหรือโปรเซสต่างๆสื่อสารกับ Host-to-Host layer ผ่านจุดเชื่อมต่อไว้ใช้งาน เมื่อแอพพลิเคชั่นทำงานผ่านโปรโตคอลในชั้น Process layer จะมีการส่งผ่านข้อมูลไปยัง Host-to-Host layer ที่ชั้นนี้จะมีการเชื่อมต่อผ่าน Port ที่กำหนด ทำให้การรับส่งข้อมูลในแต่ละโปรโตคอลทำได้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าในเครื่องเชิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการจะมีการทำงานอยู่หลายโปรเซสที่แตกต่างกันก็ตาม
โปรเซสต่างๆที่เรียกใช้ Transport layer เพื่อส่งผ่านข้อมูลโดยอาศัย Port ซึ่งใช้ในแต่ละโปรเซสจะเรียกใช้งาน Port เฉพาะแตกต่างกัน ยกเว้น DNS ที่สามารถใช้งานได้ทั้ง TCP และ UDP
โปรโตคอล TCP เป็นโปรโตคอลที่มีการส่งข้อมูลแบบ stream oriented protocol หมายความว่าการรับส่งข้อมูลจะไม่คำนึงถึงปริมาณข้อมูลที่จะส่งไป แต่จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งไป แต่จะแบ่งข้อมูลเป็นย่อยๆก่อน แล้วจึงส่งไปปลายทางอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับข้อมูล กรณีที่ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
รูปแบบของ UDP Packet จะมีฟิลด์ข้อมูลส่วน header น้อยมากและไม่มีข้อมูล ส่วนการตรวจสอบข้อมูล UDP มีขนาดเล็กและใช้หน่วยความจำทรัพยากรระบบน้อย


วันจันทร์, ธันวาคม ๑๐, ๒๕๕๐

เปรียบเทียบระหว่างTCP/IPกับOSI Model

TCP/IP และ OSI Model กับระบบเครือข่าย
OSI ModelOSI Model,OSI 7-LayerOSI 7-Layer Reference Model (OSI Model) โดยโครงสร้างการสื่อสารข้อมูลที่กำหนดขึ้นมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ในแต่ละชั้นของแบบการสื่อสารข้อมูลเราจะเรียกว่า Layer หรือ "ชั้น" ของแบบการสื่อสารข้อมูลนั้นเอง ประกอบด้วยชั้นย่อย ๆ 7 ชั้น ในแต่ละชั้นหรือแต่ละ Layer จะเสมือนเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลอยู่กับชั้นเดียวกันในคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง แต่ในการเชื่อมกันจริง ๆ นั้นจะเป็นเพียงการเชื่อมในระดับ Layer1 ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดเท่านั้น ที่มีการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองโดยที่ Layer อื่น ๆ ไม่ได้เชื่อมต่อกันจริง ๆ เพียงแต่ทำงานเสมือนกับว่ามีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นเดียวกันของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง คุณสมบัติข้อที่สองของ OSI Model คือ แต่ละชั้นที่รับส่งข้อมูลจะมีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นที่อยู่ติดกับตัวเองเท่านั้น จะติดต่อรับส่งข้อมูลข้ามกระโดดไปชั้นอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ของตัวเองไม่ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ด้านส่งข้อมูลออกไปให้ผู้รับ ใน Layer ที่ 7 ซึ่งอยู่ที่ด้านบนสุดของด้านส่งข้อมูลจะมีการเชื่อมต่อกับ Layer 6 เท่านั้น ในส่วน Layer 6 จะมีการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับ Layer 5 และ Layer 7 เท่านั้น Layer 7 จะไม่มีการกระโดดไป Layer 4 หรือ 5 ได้ จะมีการส่งข้อมูลไล่ลำดับลงมาจากบนลงล่าง จนถึง Layer 1 แล้วเชื่อมต่อกับ Layer 1 ในด้านการรับข้อมูล ไล่ขึ้นไปจนถึงLayer7


Layer7Application

Layer6 Presentation

Layer5 Session

Layer4 Transport

Layer3 Network

Layer2 Datalink

Layer1 Physical

Layerในทางปฏิบัติ OSI Model ได้แบ่งลักษณะการทำงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

กลุ่มแรก ได้แก่ 4 ชั้นสื่อสารด้านบน คือ Layer ที่ 7,6,5 และ 4 ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Application-oriented layers ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์เป็นหลัก โดยใน 4 ชั้นบนมักจะเป็นซอฟท์แวร์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในโปรแกรมเดียว
กลุ่มที่สอง จะเป็นชั้นล่าง ได้แก่ Layer ที่ 3, 2 และ 1ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุมการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลือกเส้นทางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เป็นหลักเรียกว่า Network-dependent layers ซึ่งในส่วนของ 3 ชั้นล่างสุด หรือ Layer ที่ 1, 2 และ 3 นั้น มักจะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้สามารถแยกแต่ละชั้นออกจากกันได้ง่าย และผลิตภัณฑ์ของต่างบริษัทกันในแต่ละชั้นได้อย่างไม่มีปัญหา



OSI Model แบ่งเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่การทำงาน ดังนี้คือ

Layer ที่ 7 Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่าง ๆ จากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่น การแปลความหมายของการกดปุ่มบนเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก๊อปปีไฟล์ หรือดึงข้อมูลมาแสดงบนจอภาพ เป็นต้น ซึ่งการแปลคำสั่งจากผู้ใช้ส่งให้กับคอมพิวเตอร์รับไปทำงานนี้ จะต้องแปลออกมาถูกต้องตามกฏ (Syntax) ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการก๊อปปี้ไฟล์เกิดขึ้นในระบบ คำสั่งที่ใช้จะต้องสร้างไฟล์ได้ถูกต้อง มีชื่อไฟล์ยาวไม่เกินจำนวนที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนดไว้ รูปแบบของชื่อไฟล์ตรงตามข้อกำหนด เป็นต้น



Layer ที่ 6 Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในระดับชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer ที่ 6 จะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลชั้นสูงมีกฏ (Syntax) บังคับแน่นอน เช่น ในการก๊อปปี้ไฟล์จะมีขั้นตอนย่อยประกอบกัน คือสร้างไฟล์ที่กำหนดขึ้นมาเสียก่อน จากนั้นจึงเปิดไฟล์ แล้วทำการรับข้อมูลจากปลายทางลงมาเก็บลงในไฟล์ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ โดยเนื้อหาของข้อมูลที่ทำการรับส่งระหว่างกัน ก็คือคำสั่งของขั้นตอนย่อยๆข้างต้นนั่นเอง นอกจากนี้ Layer ที่ 6 ยังทำหน้าที่แปลคำสั่งที่ได้รับจาก Layer ที่ 7 ให้เป็นคำสั่งระดับปฏิบัติการส่งให้ Layer ที่ 5 ต่อไป

Layer ที่ 5 Session Layer ทำหน้าที่ควบคุม "จังหวะ" ในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้าน ที่รับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันให้มีความสอดคล้องกัน (Synchronization) และกำหนดวิธีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เช่น อาจจะเป็นในการสลับกันส่ง (Half Duplex) หรือการรับส่งข้อมูลพร้อมกันทั้งสองด้าน (Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งใน Layer ที่ 5 จะอยู่ในรูป dialog หรือประโยคสนทนาโต้ตอบกันระหว่างด้านรับและด้านส่งข้อมูล เช่น เมื่อได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบโต้กลับให้ผู้ส่งได้รู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกแล้ว พร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนถัดไป ซึ่งคล้ายกับการสนนาโต้ตอบกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งนั่นเอง



Layer ที่ 4 Transport Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลระดับสูงของ Layer ที่ 5 มาเป็นข้อมูลที่รับส่งในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น แปลงค่าหรือชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายให้เป็น network address พร้อมทั้งเป็นชั้นที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล ให้ข้อมูลมีการไหลลื่นตลอดเส้นทางตามจังหวะที่ควบคุมจาก Layer ที่ 5 โดยใน Layer ที่ 4 นี้ จะเป็นรอยต่อระหว่างการรับส่งข้อมูลซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลของระดับสูงจะถูกแยกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลที่ Layer ที่ 4 และจะไม่มีส่วนใดผูกติดกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลในระดับล่าง ดังนั้นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับล่างลงไปจาก Layer ที่ 4 จึงสามารถสับเปลี่ยน และใช้ข้ามไปมากับซอฟท์แวร์รับส่งข้อมูลในระดับที่อยู่ข้างบน (ตั้งแต่ Layer ที่ 4 ขึ้นไปถึง Layer ที่ 7) ได้ง่าย หน้าที่อีกประการหนึ่งของ Layer ที่ 4 คือ การควบคุมคุณภาพการรับส่งข้อมูลให้มีมาตรฐานในระดับที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย และการตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้เหมาะกับลักษณะการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่าย เช่น หาก Layer ที่ 5 ต้องการส่งข้อมูลที่มีความยาวเกินกว่าที่ระบบเครือข่ายที่จะส่งให้ Layer ที่ 4 ก็จะทำหน้าที่ตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วส่งไปให้ผู้รับ ข้อมูลที่ได้รับปลายทางก็จะถูกนำมาต่อกันที่ Layer ที่ 4 ของด้านผู้รับ และส่งไปให้ Layer ที่ 5 ต่อไป



Layer ที่ 3 Network Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้านรับ และด้านส่งเข้าหากันผ่านระบบเครือข่าย พร้อมทั้งเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน และส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับไปยังอุปกรณ์ในเครือข่ายต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง ใน Layer ที่ 3 ข้อมูลที่รับส่งกันจะอยู่ในรูปแบบของกลุ่มข้อมูลที่เรียกว่า Packet หรือ Frame ข้อมูล Layer ที่ 4, 5, 6 และ 7 มองเห็นเป็นคำสั่งและ Dialog ต่าง ๆ นั้น จะถูกแปลงและผนึกรวมอยู่ในรูปของ Packet หรือ Frame ที่มีเพียงแอดเดรสของผู้รับ, ผู้ส่ง, ลำดับการรับส่ง และส่วนของข้อมูลเท่านั้น หน้าที่อีกประการหนึ่ง คือ การทำ Call Setup หรือเรียกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางก่อนการรับส่งข้อมูล และการทำ Call Cleaning หรือการยกเลิกการติดต่อคอมพิวเตอร์เมื่อการรับส่งข้อมูลจบลงแล้ว ในกรณีที่มีการรับส่งข้อมูลนั้นต้องมีการติดต่อกันก่อน

Layer ที่ 2 Datalink Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ โดยเมื่อมีการสั่งให้รับข้อมูลจากใน Layer ที่ 3 ลงมา Layer ที่ 2 จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลของระดับฮาร์ดแวร์ และทำการแก้ข้อผิดพลาดที่ได้ตรวจพบ ข้อมูลที่อยู่ใน Layer ที่ 2 จะอยู่ในรูปของ Frame เช่น ถ้าฮาร์ดแวร์ที่ใช้เป็น Ethernet LAN ข้อมูลจะมีรูปร่างของ Frame ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานของ Ethernet หากว่าฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นชนิดอื่น รูปร่างของ Frame ก็จะเปลี่ยนไปตามมาตรฐานนั้น ๆ

Layer ที่ 1 Physical Layer เป็นชั้นล่างสุด และเป็นชั้นเดียวที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบที่ทำการรับส่งข้อมูล ใน Layer ที่ 1 นี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ เช่น สายที่ใช้รับส่งข้อมูลจะเป็นแบบไหน ข้อต่อที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าใด สัญญาณที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีรูปร่างอย่างไร ข้อมูลใน Layer ที่ 1 นี้จะมองเห็นเป็นการรับส่งข้อมูลทีละบิตเรียงต่อกันไปแบบจำลอง OSI ประกอบด้วย 7 เลเยอร์ (layer) อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกันสนทนากัน7Applicationโปรเซสและแอพลิเคชันในเครือข่าย6Presentationการแทนข้อมูล รหัสข้อมูล5Sessionการสื่อสารระหว่างโปรเซส4Transportการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทาง3Networkการเลือกเส้นทาง2Data Linkการเข้าใช้สายสัญญาณ1Physicalการเชื่อมต่อทางกายภาพแบบอ้างอิงโอเอสไอ

TCP/IP Protocol Suit เป็นชุดของ Protocol ที่ทำงานพื้นฐาน มี 5 Layer โดยมีสิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการสื่อสาร และเรียงลำดับข้อมูล ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ หลายๆ ระบบในเครือข่าย TCP/IP ปกติ มาตรฐานการเชื่อมสาย และการส่งสัญญาณ เช่นมาตรฐาน Ethernet จะให้การเชื่อมโยงพื้นฐาน ระหว่างเครื่องที่แตกต่างกัน Ethernet Adapter มีแพร่หลายสำหรับบัสข้อมูล ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ใช้กัน ข้อมูลที่ถูกหุ้มไว้ใน Packet จะถูกส่งไปตามสายสัญญานไ ปยังแต่ละเครื่อง คอมพิวเตอร์กับระบบปฏิบัติการ และสถาปัตยกรรมต่างกันที่แกะ Ethernet Packet จะไม่รู้ว่าต้องทำอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ ถ้าไม่พบคำสั่งเพิ่มเติม ซึ่ง TCP/IP เป็นผู้ให้คำสั่งนี้ Packet จะได้รับการจัดการตามมาตรฐานเมื่อมันมาถึง โดยไม่สนใจสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานทางด้านรับTCP/IP
Application
Presentation
Session
Transport
Network Data Link
Physical Physical
TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ในแต่ละเลเยอร์ของโครงสร้าง TCP/IP สามารถอธิบายได้ดังนี้โครงสร้าง TCP/IP
1. ชั้นโฮสต์-เครือข่าย (Host-to-Network Layer)โพรโตคอลสำหรับการควบคุมการสื่อสารในชั้นนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการ หน้าที่หลักคือการรับข้อมูลจากชั้นสื่อสาร IP มาแล้วส่งไปยังโหนดที่ระบุไว้ในเส้นทางเดินข้อมูลทางด้านผู้รับก็จะทำงานในทางกลับกัน คือรับข้อมูลจากสายสื่อสารแล้วนำส่งให้กับโปรแกรมในชั้นสื่อสาร
2. ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ต (The Internet Layer)ใช้ประเภทของระบบการสื่อสารที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับแพ็กเก็ต (packet-switching network) ซึ่งเป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) หลักการทำงานคือการปล่อยให้ข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) สามารถไหลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ ในระบบจนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยอิสระ หากว่ามีการส่งแพ็กเก็ตออกมาเป็นชุดโดยมีจุดหมายปลายทางเดียวกันในระหว่างการเดินทางในเครือข่าย แพ็กเก็ตแต่ละตัวในชุดนี้ก็จะเป็นอิสระแก่กันและกัน ดังนั้น แพ็กเก็ตที่ส่งไปถึงปลายทางอาจจะไม่เป็นไปตามลำดับก็ได้a. IP (Internet Protocol)IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด

MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talkการเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทางb.
ICMP (Internet Control Message Protocol)ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ3. ชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล (Transport Layer)แบ่งเป็นโพรโตคอล 2 ชนิดตามลักษณะ ลักษณะแรกเรียกว่า

Transmission Control Protocol (TCP) เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร (connection-oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า message ซึ่งจะถูกส่งไปยังผู้รับผ่านทางชั้นสื่อสารของอินเทอร์เน็ต ทางฝ่ายผู้รับจะนำ message มาเรียงต่อกันตามลำดับเป็นข้อมูลตัวเดิม TCP ยังมีความสามารถในการควบคุมการไหลของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ส่ง ส่งข้อมูลเร็วเกินกว่าที่ผู้รับจะทำงานได้ทันอีกด้วยโปรโตคอลการนำส่งข้อมูลแบบที่สองเรียกว่า UDP (User Datagram Protocol) เป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (connectionless) มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่ง จึงถือได้ว่าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อดีในด้านความรวดเร็วในการส่งข้อมูล จึงนิยมใช้ในระบบผู้ให้และผู้ใช้บริการ (client/server system) ซึ่งมีการสื่อสารแบบ ถาม/ตอบ (request/reply) นอกจากนั้นยังใช้ในการส่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียง (voice) ทางอินเทอร์เน็ตa. UDP : (User Datagram Protocol)เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูลb.
TCP : (Transmission Control Protocol)อยู่ใน Transport Layer เช่นเดียวกับ UDP ทำหน้าที่จัดการและควบคุมการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีความสามารถและรายละเอียดมากกว่า UDP โดยดาต้าแกรมของ TCP จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และมีกลไกควบคุมการรับส่งข้อมูลให้มีความถูกต้อง (reliable) และมีการสื่อสารอย่างเป็นกระบวนการ (connection-oriented)4. ชั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer)มีโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือน เรียกว่า TELNET โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP และโพรโตคอลสำหรับการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า SMTP โดยโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือนช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับเครื่องโฮสต์ที่อยู่ไกลออกไปโดยผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถทำงานได้เสมือนกับว่ากำลังนั่งทำงานอยู่ที่เครื่องโฮสต์นั้น โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูลช่วยในการคัดลอกแฟ้มข้อมูลมาจากเครื่องอื่นที่อยู่ในระบบเครือข่ายหรือส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลไปยังเครื่องใดๆก็ได้ โพรโตคอลสำหรับให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการจัดส่งข้อความไปยังผู้ใช้ในระบบ หรือรับข้อความที่มีผู้ส่งเข้ามา

ปัญหาไอทีกับธุรกิจในปัจจุบัน

ปัญหาไอทีกับธุรกิจในปัจจุบัน
ปัญหาด้านไอที่ที่ส่งผลต่อการทำธุระกิจในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
-ความสามารถของแรงงานในปัจจุบันยังขาดทักษะทางด้านเทคโนโลยี
เนื่องจากแรงงานไม่ได้รับการศึกษาในด้านนี้หรือมีอายุที่มากแล้วจึง
ต้องการการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในส่วนนี้ทำให้ต้องเพิ่มการลงทุนในส่วน
นี้ด้วย
-ต้องมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อให้เกิดความรวจเร็วในการทำงานในยุคปัจจุบันผู้ทำธุรกิจจะต้อง
ลงทุนซื้อหาอุปกรณ์ในส่วนนี้ด้วย
-อาจเกิดปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลทางธุรกิจ
ผลกระทบจากปัญหาข้อมูลรั่วไหลไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพื่อรับมือกับความ
เสี่ยงและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม บริษัทสมควรอย่างยิ่งที่
จะต้องปลูกฝังวัฒนธรรมด้านคอมไพลเอนซ์ในองค์กร โดยการผสานรวม
ปัจจัยด้านบุคลากร กระบวนการขั้นตอน และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันเพื่อสร้าง
เป็นกรอบปฏิบัติด้านคอมไพลเอนซ์ที่มีประสิทธิผล ตรวจวัดได้ และปฏิบัติได้
อย่างต่อเนื่องเพื่อผลในระยะยาว

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม ๐๖, ๒๕๕๐

HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นโปรโตคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์แรกเริ่มในการเป็นช่องทาง สำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยน HTML
HTTP เป็นการพัฒนาร่วมกันโดย World Wide Web Consortium ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ และคณะทำงานจาก Internet Engineering Task Force โดยออกมาเป็นชุดเอกสาร RFC เอกสารชิ้นที่สำคัญคือ RFC 2616 ซึ่งเป็นมาตรฐาน HTTP 1.1 ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
HTTP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ร้องขอ/ตอบกลับ ระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์ กับเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่า
เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานบนโปรโตคอล TCP ตามพอร์ตที่กำหนด (ปกติใช้พอร์ต 80)

HTTP 1.1
HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
เป็นโปรโตคอลประยุกต์ของ World Wide Web ที่ทำงานระดับบนของชุดโปรโตคอล TCP/IP บนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีเวอร์ชันใหม่ คือ HTTP 1.1 ซึ่งสัญญาว่าจะนำเว็บเพจไปสู่ browser เร็วขึ้นเล็กน้อย และลด traffic ของเว็บ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการของ Internet Engineering Task Force (IETF) รวมถึงหัวหน้าคณะผู้สร้างเว็บ Tim Berners-Lee โดย HTTP 1.1 อยู่ในขั้นตอนการเสนอวัตถุประสงค์ แต่ข้อเท็จจริง web server และ browser client อยู่ในขั้นของการสนับสนุน ข้อสรุป การที่ HTTP 1.0 ทำให้การไหลของสารสนเทศเร็วขึ้น- แทนที่การเปิดและการปิดติดต่อสำหรับการขอแต่ละการประยุกต์ HTTP 1.1 ให้ใช้การติดต่อแบบผังติด (persistent connection) ที่ยินยอมให้หลายคำขอได้รับการส่งหรือ pipeline ไปที่ buffer ของผลลัพธ์ ในเลเยอร์ของ TCP (Transmission Control Protocol) สามารถหยิมหลายคำขอ หรือการตอบสนองไปยัง 1 segment ของ TCP แล้วส่งต่อไปยังเลเยอร์ IP (Internet Protocol) สำหรับการส่งแพ็คเกต ทำให้คำขอสำหรับชุดของการดึงไฟล์จะลดลง ใช้แพ็คเกตน้อยลงในไหลผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะคำขอ คือ pipeline ทำให้ segment ของ TCP มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์โดยรวมทำให้ลด traffic บนอินเตอร์เน็ตและสมรรถนะเร็วขึ้นสำหรับผู้ใช้การติดต่อแบบฝังติด คล้ายกับ Netscape HTTP 1.1 extension เรียกว่า keep active แต่ให้การดูแลคำขอที่ดีกว่า รวมถึงการผ่าน proxy server- เมื่อ browser สนับสนุน HTTP 1.1 แสดงถึงความสามารถขยายไฟล์ HTML จะทำให้เครื่องแม่ข่ายบีบอัดไฟล์สำหรับการส่งผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้ลดการส่งข้อมูล (ไฟล์รูปภาพได้อยู่ในฟอร์แมตบีบอัด ดังนั้น จึงเป็นการปรับปรุงเฉพาะ HTML และประเภทข้อมูลที่ไม่ใช่ภาพ)การเพิ่มการติดต่อแบบฝังติด และการเพิ่มสมรรถนะ HTTP 1.1 ยังได้เพิ่มความสามารถในการใช้หลายชื่อ domain name ร่วมกันใน Internet address (IP address) เดียวกัน เพื่อทำให้ขั้นตอนของ web server ซึ่งเป็นที่เก็บหลาย web site บางครั้งเรียกว่า virtual hosting

Post Office Protocol version 3 (POP3) หรือ พ็อป หรือ เกณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์
[1] เป็นโปรโตคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโปรโตคอล TCP/IP ในปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้บริการอ่านอีเมลแบบ POP3
POP3 เป็นการพัฒนาจากโปรโตคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3
POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโปรโตคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ
Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุน IMAP ด้วยน้อยกว่า POP3
Internet Message Access Protocol หรือตัวย่อ IMAP (เดิมชื่อ Interactive Mail Access Protocol) เป็น
โปรโตคอลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการรับอีเมลการทำงานของ IMAP จะแตกต่างกับ POP3 เนื่องจาก IMAP เป็นโปรโตคอลแบบ on-line ขณะที่ POP3 เป็นโปรโตคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็นสองโปรโตคอลรับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

IMAP ออกแบบโดย Mark Crispin ใน ค.ศ. 1981 เพื่อใช้แทนโปรโตคอล POP ซึ่งมีความสามารถน้อยกว่า ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ IMAP4
เอฟทีพี (File Transfer Protocol:FTP) คือ รูปแบบการส่งไฟล์ (send file) หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า Client กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า
โฮสติง หรือ เซิร์ฟเวอร์ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน
โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม Cute FTP หรือ WS FTP ในการติดต่อ เป็นต้น

วันเสาร์, ธันวาคม ๐๑, ๒๕๕๐

อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่าย


Hub

มีความหมายโดยทั่วไป คือ เป็นส่วนกลางของล้อ ในด้าน data communication นั้น hub เป็นสถานที่ของการรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ทิศทางและส่งต่อไปยังทิศทางอื่น ตามปกติ hub มักจะรวม switch บางประเภท ซึ่ง hub มีลักษณะที่เป็นที่รวมของข้อมูล และ switch ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลและสถานที่ส่งต่อข้อมูลจากที่รวมข้อมูล นอกจากนี้ hub ยังรวมถึง router




1. ใน topology ของเครือข่าย topology ของ hub ประกอบด้วย backbone ที่แหล่งรวมของสายต่อเชื่อมและมีจุดการเชื่อให้กับอุปกรณ์ สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ต่อกับระบบเครือข่ายแบบ การใช้ topology ในกรณีเป็นการติดต่อกับผู้ให้บริการสำหรับเครือข่ายระบบอื่น topology คือ เครือข่ายแบบ bus และ ring


2. สินค้าประเภทเครือข่าย hub มักรวมถึงการ์ด modem สำหรับการหมุนติดต่อ การ์ดของ gateway สำหรับการต่อกับระบบ เครือข่ายแบบ (เช่น Ethernet) และสายต่อเชื่อมหลัก




switch
ในโทรคมนาคม, switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูลหรือปลายทางต่อไป switch(สวิท์ช)อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทางความสัมพันธ์แบบจำลอง Open System Interconnecting, สวิท์ช เกี่ยวข้องกับ Layer หรือ Data-Link Layer อย่างไรก็ตาม สวิท์ชรุ่นใหม่ สามารถทำงานต้นเส้นทาง ของเลเยอร์ หรือ Network Layer โดยบางครั้ง switch layer 3 ได้รับการเรียกว่า IP switchesบนเครือข่ายขนาดใหญ่ การเดินทางจากสวิท์ชหนึ่งไปยังตัวอื่นในเครือข่ายเรียกว่า hop เวลาที่สวิท์ชใช้ ในการชี้ถึงการส่งหน่วยข้อมูลเรียกว่า latency ราคาที่จ่ายให้กับความยืดหยุ่น ของสวิท์ชที่ให้กับเครือข่าย คือ latency สวิท์ชที่พบใน backbone และ gateway ของเครือข่าย ที่เครือข่ายหนึ่งใช้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอื่น และระดับเครือข่ายย่อย สำหรับการส่งต่อใกล้กับปลายทาง หรือจุดเริ่มต้น อันแรกเรียกว่า core switches และอันดับหลังเรียกว่า desktop switchesในเครือข่ายพื้นฐาน สวิท์ช ไม่ต้องการข่าวสารในการส่ง หรือรับภายเครือข่าย ตัวอย่างเช่น เครือข่ายแบบ LAN อาจจะจัดโครงสร้างด้วย todenring หรือการจัดเรียงบัส ในแต่ละปลายทางตรวจแต่ข่าวสาร และอ่านข่าวสารด้วยตำแหน่งcircuit switching เวอร์ชัน packet switchingเส้นทางของเครือข่ายจะต้องใช้เฉพาะสำหรับภายในกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่า และสวิท์ชสำหรับใช้กับกลุ่มอื่น ประเภทของ switching ที่รู้จักในชื่อ circuit switching และเป็นตัวแทนและเชื่อมต่อเส้นทางอย่างต่อเนื่อง สำหรับภายในกลุ่ม ปัจจุบัน การส่งข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สัญญาณดิจิตอลผ่านเครือข่ายที่ใช้ packet switching การใช้ packet switching ผู้ใช้เครือข่ายทั้งหมดสามารถใช้เส้นทางร่วมกันในเวลาเดียวกัน และเส้นทางเฉพาะ ของหน่วยข้อมูลที่เดินทาง สามารถแปรผันตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนใน packet switching การส่ง message จะได้รับการแบ่งเป็น แพ็คเกต ซึ่งมีหน่วยเป็นไบต์ address ของเครือข่ายสำหรับผู้ส่ง และสำหรับปลายทาง ได้รับการเพิ่มอยู่ในแพ็คเกต แต่ละจุดของเครือข่ายจะดูที่แพ็คเกต เพื่อส่งต่อแพ็คเกตใน message เดียวกันอาจจะมีเส้นทางที่ต่างกัน และอาจจะไม่ไปถึงในลำดับเดียวกับ การส่งที่ปลายทาง แพ็คเกตใน messageจะได้รับการรวมและประกอบใหญ่เป็น message เหมือนเดิม




router
ในอินเตอร์เน็ต Router เป็นอุปกรณ์ หรือบางกรณีอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้หาจุดต่อไปของเครือข่าย ที่แพ็คเกตสามารถส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ router ต้องต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 2 ข่าย และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สารสนเทศของแพ็คเกต ซึ่งทราบสถานะของเครือข่ายแล้ว ที่ต้องการติดต่อถึง router เป็นตำแหน่งของเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือ gateway รวมถึง Internet POP โดยปกติ router เป็นตำแหน่งของระบบสวิชต์ของเครือข่าย Router จะสร้างและรักษาตาราง routing (เส้นทางที่ใช้งานได้) และเงื่อนไขสำหรับการใช้เป็นสารสนเทศของระยะทาง และ algorithm ของค่าใช้จ่าย เพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับแพ็คเกต ตามปกติ แพ็คเกตจะเดินทางผ่านจุดต่าง ๆ ของเครือข่ายตามเส้นทางก่อนถึงจุดหมายปลายทาง edge router เป็น router ที่ใช้อินเตอร์เฟซกับระบบเครือข่ายแบบ asynchronous transfer mode ส่วน brouter เป็นเครือข่ายแบบสะพานที่รวมกับ router




Gateway

เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch


Network Interface Card (NIC)
บางคนอาจเรียกสั้น ๆ ว่า LAN Card หมายถึง Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs เป็นต้น

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน ๒๒, ๒๕๕๐

ข้อเสียของการใช้ internet

1.เป็นช่องทางของมิชฉาชีพ
2.ทำให้เกิดการโจรกรรมข้อมูล
3.ทำให้เกิดปัญหาลักพาตัวจากการเล่น Chat
4.ทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นคนใจร้อน
5.ทำให้เกิดการเผยแพร่สื่อที่ไม่เหมาะสม
6.ทำให้เป็นช่องทางการกระทำความผิด
7.อาจทำให้เกิดการใช้เวลาว่างในทางที่ผิด
8.ทำให้เยาวชนหลงไปในทางที่ผิดได้
9.ทำให้เกิดการใช้ภาษาผิดๆได้จากการเล่น Chat
10.ทำให้เกิดสื่อลามกอนาจาร