วันพุธ, มกราคม ๐๒, ๒๕๕๑

สรุปบทที่ 6 - บทที่ 8

บทที่ 6 Domain Name System (DNS)
ระบบ Domain Name System เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address มีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ และยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่นๆอีก
ข้อกำหนดของ DNS คือ ชื่อในลำดับชั้นที่สองที่ต่อจาก root ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะที่ระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจน
ข้อมูลใน DNS การทำงานของ DNS เป็นการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย DNS มีทางเลือกใจการใช้งาน ได้ 2 วิธี คืออาศัยเครื่อง DNS server ของผู้ให้บริการ (ISP) เพื่อแปลงชื่อเป็นหมายเลข IP Address ให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายของตน
ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี คือ องค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมเครื่องทำหน้าที่ DNS Server และไม่ต้องคอยดูแลจัดการข้อมูลให้ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเครื่องในเครือข่าย ก็จะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลระบบของบริษัท ISP ทราบเพื่อช่วยแก้ไขข้อมูลให้ ซึ่งจะไม่สามารถทำเองได้
DNS Zone มีการแบ่งจัดการดูแล domain ออกเป็นพื้นที่ย่อยเรียกว่า zone หรือ DNS zone นี้ทำได้โดยการแบ่งกลุ่มย่อยของ node ที่มีลำดับชั้นย่อยลงไปอีกขั้นเพื่อแยก DNS server ให้ดูแลรับผิดชอบแต่ละ zone ไปช่วยให้กรณีเมื่อ DNS server ที่ดูแล zone 1 อยู่เองได้รับคำสั่งขอข้อมูลที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ก็จะมีการส่งค่า IP Address ของ DNS server ที่ดูแล zone ที่ต้องการให้แทน
DHCP การทำงานของโปรโตคอล DHCP จัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ โดยเครื่องที่ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูลของแอดเดรสและพารามิเตอร์ ที่จำเป็นเพื่อแจกจ่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์หรืออุปกรณ์อื่นๆจะถูกเรียกว่า DHCP server เพื่อนำไปใช้งาน
บทที่ 7 อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
Workflow เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆเป็นไปแบบอัตโนมัติ
โปรโตคอลและประเภทการใช้งาน การทำงานทั่วๆไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ
1.การส่งอีเมล์
2.การรับอีเมล์
POP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 3 เรียกย่อๆว่า POP3 โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ ซึ่งกลไกของ POP3 จะทำงานในแบบ Offline โดยติดต่อเข้าไปยัง เมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวโหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบ Online กับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ใน User agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเครือข่ายก็ได้
SMTP เป็นโปรโตลคอลที่อยู่คู่กับ POP3 เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่นๆที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องของผู้รับ โปรโตคอล SMTP จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP
IMAP 4 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์ สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ผู้ใช้สามารถเลือกดาวโหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตลคอล POP3 และยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline Online และ Disconnected อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องใช้งานอยู่หลายเครื่องก็จะเกิดประโยชน์จากการทำงาน
บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP เป็นเครื่องมีในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยมีคุณสมบัติสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อการโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่
วิธีการทำงานของ FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ ข้อมูล และข้อมูลที่เป็นคำสั่ง
วิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้
- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ
- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก
- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
TFTP เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ
Connectionless และ Connection-Oriented
Connectionless เป็นการส่งข้อมูลโดยไม่สนใจว่าผู้รับปลายทางจะได้รับข้อมูลหรือไม่ เปรียบได้กับการส่งไปรษณีย์แบบธรรมดา
Connection-Oriented เป็นการสื่อสารที่มีกลไกที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับได้รับข้อมูลต่างๆหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับก็จะต้องส่งไปใหม่ ก็จะคล้ายกับการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
GetRight เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ โดยทำหน้าที่แทนไดอะล๊อกบ๊อกซ์การดาวน์โหลดของบราวเซอร์ซึ่งจะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้บราวเซอร์
WebNFS สามารถจำลองดิสก์ของระบบ Unix ของระบบ Unix ให้เครือข่ายเข้ามาเรียกใช้ข้อมูล หรือส่งงานมาพิมพ์ และในทางกลับกันก็ขอใช้ไฟล์หรือส่งงานไปพิมพ์ที่เซิร์ฟเวอร์อื่นในเครือข่ายได้ด้วย โดยขยายให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้






ไม่มีความคิดเห็น: